จะเลือกซื้อแว่นตาอย่างไรให้เข้ากับใบหน้า สิ่งแรกก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อกรอบแว่นตาดี ๆ สำหรับผู้ที่ใช้แว่นตาเปรียบเสหมือนเพื่อนคู่กาย คุณจะทราบดีว่า แว่นตา ที่คุณเลือกนั้นตอบสนองการใช้ประจำได้ดีมากน้อยเพียงใด ทั้งด้านการใช้งาน ความเหมาะสมกับบุคลิก เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวคุณ เรามีข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อแว่นตา เรามาลองดูกันเลยค่ะ
1. เลือกแว่นตาตามรูปใบหน้า FACE TYPE หากคุณเองไม่แน่ใจได้ว่าตัวเองนั้นมีรูปหน้า เป็นไปในลักษณะไหนนั้นไม่ต้องกังวลใจไป เรามีรูปแบบใบหน้าที่จำแนกมาจากรูปหน้าโดยเฉลี่ยของคนส่วนใหญ่มาให้ลองเปรี่ยบเทียบกับตัวคุณเอง ด้วยขั้นตอนง่ายๆ เพียงแค่เช็ครูปหน้ากับกระจกที่บ้าน หรือถ่ายภาพใบหน้า แล้วนำมาวัดเทียบ ตามรูปแบบใบหน้าเหล่านี้
ใบหน้าทรงกลม (Round): เลือกแว่นสำหรับคนใบหน้ากลม กรอบแว่นตาที่ควรเลือกใช้ เน้นกรอบแว่นตาที่มีรูปทรงสีเหลี่ยม หรือเป็นกรอบที่มีมุม หรือรูปทรงเหลี่ยมควรหลีกเลี่ยงกรอบแว่นตา ทรงกลมเพราะจะยิ่งทำให้ใบหน้าดูกลมมากยิ่งขึ้น
ใบหน้า รูปไข่(Oval) รูปใบหน้าที่สาวๆ และหนุ่มๆ หลายคนต้องการ ถึงแม้ว่าโครงสร้างใบหน้ารูปไข่จะสมบูรณ์แบบ เล็กเรียวดูดีอยู่แล้ว แต่การเลือกกรอบแว่นตาให้เหมาะสมกับคุณนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้รูปแบบใบหน้าประเภทอื่นๆ เช่นกันคุณควรคำนึงถึงเรื่องคุณภาพของแว่น และควรเลือกกรอบแว่นตา ที่มีช่องว่างแป้นจมูกที่แข็งแรง รูปลักษณ์การใช้งานที่คงทน สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือ กรอบแว่นตาที่ดูกว้างกว่าใบหน้า เพราะจะทำให้ใบหน้าของคุณนั้นดูเล็กลง
ใบหน้า รูปทรงสี่เหลี่ยม(Square): สำหรับคนที่มีรูปหน้าทรงสี่เหลี่ยม ด้วยรูปหน้าที่มีโครงสร้างของกระดูกที่ดูชัดเจนและมีส่วนของหน้าผากที่แคบ คุณควรมองหากรอบแว่นตาที่มีความโค้งมนหรือแว่นทรงกลม เพราะมันจะช่วยลดรูปเหลี่ยมของใบหน้าให้ดูเรียวและได้สัดส่วนที่ดีขึ้น
ใบหน้า รูปเพชร (Diamond): ใบหน้ารูปเพชร เป็นรูปใบหน้าที่พบเห็นได้ยาก ลักษณะพิเศษคือช่วงของหน้าผากจะดูแคบ ฉะนั้นการเลือกกรอบแว่นตาที่เหมาะสมกับคนที่มีรูปใบหน้า รูปเพชร คือกรอบแว่นตาที่ดูเรียวเล็ก เพื่อเลี่ยงจุดสนใจ ไม่ควรเลือกกรอบแว่นที่มีขนาดของกรอบที่กว้างมากจนเกินไป
ใบหน้า รูปหัวใจ (Heart ): รูปใบหน้าสุดท้าย รูปหัวใจ คุณลักษณะพิเศษของรูปใบหน้านี้ คือช่วงของหน้าผากที่ดูกว้าง คุณควรเลือกกรอบแว่นตา ที่มีช่วงของกรอบแว่นตาที่สวมใส่แล้วขอบแว่นอยู่ต่ำกว่าจมูก เพื่อช่วยให้เกิดความสมดุลระหว่างช่วงหน้าผากและคาง ทำให้ใบหน้าดูได้รูป
การเลือกซื้อกรอบแว่นตา (FRAME SIZES)
คุณรู้หรือไม่ว่ามีโค้ดลับอะไรบ้างอย่างที่จะช่วยให้คุณเลือกซื้อกรอบแว่นตาอันใหม่ให้สัมพันธ์ก่อนการสั่งตัดแว่นตา หากคุณเคยสั่งทำแว่นตามาก่อน ก็พอจะทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นมาแล้วว่าคุณนั้นมีค่าสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงซึ่งข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้จะช่วยให้คุณลัดขั้นตอนก่อนการเลือกกรอบแว่นตาไปได้อย่างเร็ว แต่สำหรับคนที่กำลังสั่งทำแว่นหรือหาซื้อแว่นตาอันใหม่อยู่
คุณจำเป็นต้องทราบข้อมูลของแว่นตาเหล่านี้ เพื่อย่นเวลาการเลือกซื้อแว่นตาอันใหม่ ง่ายๆเพียงคุณสังเกตุดูที่ขาแว่นตาอันเดิมที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ หรือดูจากขาแว่นตาใหม่ที่คุณกำลังจะซื้อ โดยให้อ่านค่าตัวเลข ส่วนใหญ่แว่นตาจะระบุไว้ที่บริเวรขาของแว่น จากนั้นเปรียบเทียบรายละเอียดตามลำดับตัวเลขที่ยกตัวอย่างมาให้นี้
ขนาดความกว้างของกรอบแว่นตา (ความกว้างเลนส์)
ระยะห่างของแป้นจมูก
ความยาวของขาแว่นตา
ตัวอย่าง : การอ่านค่าขนาดกรอบแว่นตา : Brand Model 52/18 135 หรือ 52 18-135
a) 52 = ขนาดความกว้างของกรอบแว่นตา
b) 18 = ระยะห่างของแป้นจมูก
c) 135= ความยาวของขาแว่นตา
กรณีที่แว่นตาไม่มีตัวเลขใดๆระบุมาให้ คุณเองก็ทำการวัดขนาดของกรอบแว่นตาได้ด้วยตัวเอง ง่ายๆด้วยไม้บรรทัด
ทริป: นอกจากค่าตัวเลขที่บอกมานี้ จะทำให้คุณได้แว่นตามต้องการมากที่สุดแล้ว เราสามารถทำการวัดค่าส่วนอื่นๆ ของตัวแว่นตาได้อีกด้วยเช่น ความกว้างและความสูงของ ตัวเลนส์
รู้หรือไม่ หน่วยที่ใช้วัดขนาดกรอบแว่นตาและเลนส์ มีหน่วยวัดเป็น มม. (มิลิเมตร)
อย่าลืมก่อนเลือกซื้อกรอบแว่นตาให้เหมาะกับคุณสัดส่วนของ ความยาวแป้นรองจมูก & ความยาวของขาแว่นก็สำคัญไม่แพ้กัน คุณควรเลือกแว่นตาใหม่ที่มีค่าใกล้เคียงกับคุณมากที่สุด
ถ้าคุณใช้ไม้บรรทัดที่มีหน่วยวัดเป็น “นิ้ว” เปลี่ยนค่าเป็น ม.ม. จะเท่ากับ 1 นิ้ว = 25.4 ม.ม.
ถ้าคุณวัดค่าเป็น “ซ.ม.” 1 ซ.ม. = 10 ม.ม. คลิกวัดค่าได้ที่นี้
ทำความรู้จักกับ “ การอ่านค่าวัดสายตา ” Eyeglasses Prescription คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าหลังตรวจวัดสายตาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่หรือจักษุแพทย์จะออกใบวัดค่าสายตามาให้เพื่อนำเอาค่าสายตาของคุณไปสั่งตัดแว่นตาในขั้นตอนต่อๆไป แต่เราจะทำความรู้จักกับข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างไร ว่าส่วนไหนบ่งบอกอะไร ที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสายตาเราได้บ้าง
แน่นอนว่ามันเป็นข้อมูลทางเทคนิค และค่าตัวเลขวัดสายตาของคุณเองก็ถูกแปลงค่ามาจากเครื่องมือวัดสายตา แต่วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ มาทำความรู้จักกับค่าวัดสายตาเบื้องต้นกันเลย เริ่มจากค่าวัดสายตาของคนโดยส่วนใหญ่จะถูกแบ่งออกเป็น
1 ค่าสายตาปกติ แทนค่าด้วย (0.00)
2. ค่าสายตาสั้น ปกติ แทนค่าด้วยลบ (-) -1.50
3. ค่าสายตายาว ปกติ แทนค่า ด้วยเครื่องหมาย (+) +1.50
4. ค่าสายตาเอียง
5. สายตายาว เอียง
สำหรับผู้ที่มีสายตาเอียง จะแทนค่าสายตาด้วย ตัวอักษร ASIS เพราะสายตาเอียงจะมีเรื่องขององศา เข้ามาเกี่ยวข้องและต้องทำการส่งค่าเพื่อสั่งทำเลนส์พิเศษให้กับแลปสายตาสั่งทำแว่นสายตานั้นๆ ต่อไป
การอ่านค่าวัดสายตาแบ่งออกได้ดังนี้
SPH = ค่าสายตาสั้น หรือ สายตายาว แทนเครื่องหมายด้วย - + เช่น สายตาสั้น -1.50, สายตายาว +1.50
CYL = ค่าสายตาเอียงมีเฉพาะค่าลบ
AXIS = ค่าแนวองศา สายตาเอียง มีเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียงร่วมด้วยเท่านั้น จะมีค่าตัวเลขบอกองศา อยู่ที่ 1 - 180 องศา
ADD = ค่ากำลังอ่านสายตา (โดยส่วนใหญ่จะพบอยู่ในช่วงอายุ 40 ปี)
PD = ระยะห่างระหว่างรูม่านตา Pupil วัดจากกึ่งกลางของลูกตาดำ
การวัดระยะห่างของรูม่าน หรือ PUPILLARY DISTANCE (PD)
ค่า PD หรือ ค่าวัดระยะห่างระหว่างกึ่งกลางของรูม่านตา ความสำคัญของค่า PD นั้นไม่น้อยไปกว่าค่าวัดสายตาอื่นๆ โดยส่วนใหม่จักษุแพทย์ระบุออกในใบวัดค่าสายตาให้ทุกครั้งที่ทำการตรวจวัด ยิ่งคนที่มีค่าสายตา PD มากเท่าไรก็จะยิ่งส่งผลต่อการสวมใส่แว่นตาตามไปด้วย เพราะถ้าค่าวัดเหล่านี้จะสัมพันธ์กับความสมดุลระหว่างตัวแว่น ส่งผลถึงความรู้สึกสบายตาและการมองเห็นของผู้สวมใส่แว่นโดยตรง และการวัดค่านี้ก็ไม่ยุงยากอย่างที่คุณคิด คุณเองสามารถวัดค่า PD เบื้องต้นของได้ด้วยตนเอง เช่นเดียวกันโดยใช้แค่ไม้บรรทัด หรือจะไปตรวจวัดด้วยเครื่องวัดค่าแบบดิจิตอลก็ได้คะ
วีธีวัดระยะห่างระหว่างรูม่านตา
เริ่มจากการวัดจากจุดกึ่งกลางของตาดำด้านขวา ถึงระยะห่างระหว่างจุดกึ่งกลางตาดำด้านซ้าย โดยปกติแล้วผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา จะทำการวัด PD (Pupil Distance) ทุกครั้ง ก่อนไปต่อที่ขั้นตอนการวัดค่าสาย เพื่อสั่งประกอบแว่น เนื่องจากการวัดค่าสายตาที่ถูกต้องโดยมันจะส่งผลต่อการปรับระยะของชุดเฟรมทดลอง (Trail Frame) นั้นเอง
การวัดค่า PD นั้นเปรียบเสมือนหาชุดเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับคนๆ นั้น หมายความว่า หากผู้ใส่แว่นตา เลือกแว่นตาที่เหมาะสมกับสัดส่วนของคุณก็จะทำให้รู้สึกสบาย เช่นกันกับการประกอบเลนส์กับกรอบแว่น หากได้ค่า PD ที่ไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้รู้สึกไม่สบายตาหรือเกิดปัญหาความเมื่อยล่าของลูกตาตามมาได้
เพิ่มเติม : ค่า PD หรือ ระยะห่างระหว่างรูม่านตา อาจทำได้โดยการใช้ไม้บรรทัดวัด PD ซึ่งเป็นการวัดแบบแมนนวล (Manual) โดยอาศัยความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญ กับอีกวิธีโดยใช้เครื่องวัด PD เรียก "PD Meter" ซึ่งเป็นเครื่องวัดอัตโนมัติ เปรียบเทียบ คล้ายการวัดความดันด้วยเครื่องวัดแบบ ดิจิตอล กับ การวัดความดันโดยวิธีดั้งเดิม คือ ต้องฟังจากสัญญาณชีพจร ในหูฟังของแพทย์ ผู้เชี่้ยวชาญทางสายตายังคงเลือกใช้วิธีการวัดสายตามทั้งแบบ Manual และ เครื่องวัดดิจิตอล ควบคู่กันไป
เลือกเลนส์แว่นตาแบบไหนดี SELECTING LENSES
เลนส์แว่นตา อีกหนึ่งสิ่งแรกที่คุณควรคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็น วัสดุที่ใช้ทำเลนส์ คุณลักษณะการใช้งาน และงบประมาณที่ตั้งไว้ ซึ่งวัสดุเลนส์ในปัจจุบันมีให้เลือกสรรมากมายหลายชนิด อาทิ
แนะนำการเลือกแว่นตากันแดด
ปัจจุบันแว่นกันแดด ที่เราพบเห็นอยู่ตามท้องตลาด มักเขียนระบุไว้ตามป้ายโฆษณาหน้าร้านว่ามี UV protect และเเน่นอนได้ว่า ตัวเลนส์มีคุณสมบัติพิเศษ มีตัวช่วยป้องกันแสงอุลตราไวโอเล็ต และรังสีต่างๆ จากดวงอาทิตย์นั้นเอง และมันยังช่วยลดอาการแพ้ สำหรับผู้ที่แพ้แสงแดด ลม ฝุ่นละออง มลพิษ ดังนั้นการเลือกใช้แว่นกันแดด ควรเลือกที่ป้องกันแสงอุลตราไวโอเล็ตได้ 99 – 100% โดยให้คุณสังเกตดูในฉลากที่ติดไว้ หรือถ้าหากใครไม่แน่ใจว่าแว่นตา นั้นมีคุณสมบัติตรงตามจริงหรือไม่ ให้นำเอาแว่นตากันแดดไปวัดกับเครื่องวัดตามร้านจำหน่ายแว่นตาที่คุณซื้อมาก็ได้ค่ะ
การเลือกสีของเลนส์แว่นกันแดดสีของเลนส์ก็มีความสำคัญความเข้มของเลนส์
ควรมีความเข้มขนาดปานกลาง และเพียงพอที่จะลดแสงได้ แต่ต้องไม่มืดจนมองเห็นได้ไม่ชัดเจน หรือไม่สามารถแยกสีไฟสัญญาณจราจรได้ สีของเลนส์ที่แนะนำได้แก่ สีเทา สีอำพัน สีน้ำตาล และ สีเขียว รู้หรือไม่ว่าความเข้มของเลนส์แว่นตานั้นจะลดการป้องกันแสงอุลตราไวโอเล็ตได้ดีกว่า เลนส์สีอ่อน